อำนาจหน้าที่กองช่าง อบต.บางแค

     มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสำรวจ งานออกแบบและเขียนแบบงานประมาณราคา งานจัดทำทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ำ งานติดตั้งซ่อมบำรุงระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานจัดทำแผนปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุงประจำปีงานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานจัดทำประวัติ ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล งานจัดทำ ทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง งานบริการข้อมูล สถิติช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่างๆ  รวมถึงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 4 งาน คือ

งานแบบแผนและก่อสร้าง
-งานสำรวจ
-งานงานออกแบบและเขียนแบบ
-งานประมาณราคา
-งานจัดทำราคากลาง
-งานจัดทำทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ำ
-งานจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ
-งานจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรมต่างๆ

งานควบคุมอาคาร
-งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย
-งานปรับปรุงภูมิทัศน์


งานผังเมือง
-งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง

งานประสานสาธารณูปโภค
-งานติดตั้งซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างและไฟสัญญานจราจร
-งานเกี่ยวกับระบบประปา

 

กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติในการให้บริการประชาชนของกองช่าง
      การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
      ขั้นตอนการให้บริการ
      1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ตามแบบคำขอ อนุญาตก่อสร้างอาคาร รื้อถอน ดัดแปลง (แบบ ข.1) พร้อมเอกสาร
      2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสอบสภาพสาธารณะ
      3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ
      4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณา คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
      เอกสารประกอบการพิจารณา
      1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
      2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้ขอ ไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้าง อาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่า ที่ดิน)
      3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ
      4. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบและคำนวณ โครงสร้าง อาคาร
      5. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ออกแบบงาน สถาปัตยกรรม
      6. แผนผังบริเวณแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน พร้อมรายการคำนวณโครงสร้าง
      7. รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย (กรณีอาคารต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย)

      การขออนุญาตรื้อถอนอาคาร
      ขั้นตอนการให้บริการ
      1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตรื้อถอนอาคารตามแบบคำขอ อนุญาตก่อสร้าง รื้อถอนดัดแปลง (แบบ ข.1) พร้อมเอกสาร
      2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสอบสภาพสาธารณะ
      3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ
      4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณา คำขออนุญาตรื้อถอนอาคาร
      เอกสารประกอบการพิจารณา
      1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
      2. สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่ตั้งของอาคารที่ขออนุญาตรื้อถอน ขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า
      3. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบ ขั้นตอนวิธีการ และป้องกันวัสดุร่วงหล่นในการรื้อถอนอาคาร (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
      4. หนังสือแสดงความยินยอมของวิศวกรผู้ควบคุมงาน (แบบ น.4)
      5. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน

      การขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
      ขั้นตอนการให้บริการ
      1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ตามแบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร รื้อถอน ดัดแปลง (แบบ ข.1) พร้อมเอกสารประกอบ
      2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสถานที่ / ตรวจสอบผังเมืองและตรวจสอบสภาพสาธารณะ
      3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ
      4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
      เอกสารประกอบการพิจารณา
      1. สำเนาบัตรประจำตัวเอกสารเหมือนประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
      2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้าง อาคารในที่ดินหรือสำเนา สัญญาเช่าที่ดิน)
      3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ
      4. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบและคำนวณ โครงสร้างอาคาร
      5. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ออกแบบงาน สถาปัตยกรรม
      6. แผนผังบริเวณแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน พร้อมรายการคำนวณโครงสร้าง
      7. รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย (กรณีอาคารต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย)
      8. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเดิมที่ได้รับอนุญาต
      9. กรณีต่อเติมเพิ่มชั้นอาคาร (วิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างอาคารมิใช่คนเดิม) ต้องมีหนังสือรับรองความมั่นคงของอาคารเดิมจากสถาบันที่เชื่อถือได้

      การขออนุญาตขุดดิน / ถมดิน
      ขั้นตอนการให้บริการ
      1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตขุดดิน / ถมดิน พร้อมเอกสาร
      2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสภาพสาธารณะ
      3. นายช่าง / วิศวกรตรวจแบบพิจารณาแบบ
      4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำขออนุญาตขุดดิน / ถมดิน
      เอกสารประกอบการพิจารณา
      1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
      2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้าง อาคารในที่ดินหรือสำเนาหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน)
      3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ
      4. แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
      5. แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
      6. รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 พ.ร.บ. ขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
      7. วิธีการขุดดินและถมดิน
      8. ระยะเวลาทำการขุดดิน
      9. ชื่อผู้ควบคุมซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    10. ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
    11. ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
    12. เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา






































 













QR code

อบต.บางแค




 

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค
หมู่ที่ 5 ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110
โทรศัพท์ : 034-772-538 โทรสาร : 032-772538 ต่อ 16
E-mail : bangkae034@gmail.com
 

 

นายกอบต : 081-7052361
สำนักปลัด : 034-772-538 

กองคลัง : 034-772-538 
กองช่าง : 034-772-538
กองสาธารณสุขฯ : 034-772-538
กองการศึกษาฯ : 034-772-538





ลิขสิทธิ์ © 2557 - 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค จังหวัดสมุทรสงคราม. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล